หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

รับทำบัญชี.COM | หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือไม่

Click to rate this post!
[Total: 82 Average: 5]

หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด คือ

หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
สภาพคล่องทางการเงิน ถือเป็นหัวใจหลักของการประกอบกิจการ เพราะไม่เพียงแต่ทำให้กิจการสามารถดำเนินกิจกรรมภายในต่างๆได้อย่างราบรื่นเท่านั้น แต่สภาพคล่องของกิจการยังเป็นปัจจัยหลักที่นักลงทุนส่วนใหญ่นำมาประกอบการพิจารณาความสามารถในการบริหารและการดำเนินงาน อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้สถานะทางการเงินของธุรกิจมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพในสายตานักลงทุน ดังนั้น ดังนั้น หากจะประเมินสภาพคล่องของกิจการ ก็ต้องประเมินที่ความสามารถในการจ่ายหนี้ระยะสั้นของกิจการ
โดยคำนวณจากสูตร อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ration) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ซึ่งตัวแปรที่สำคัญในสูตรนี้คือ มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนจะต้องมีค่ามากกว่าจำนวนหนี้สินหมุนเวียน(ระยะสั้น)ของกิจการ และต้องเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด โดยแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการและความสำคัญของหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด สามารถสรุปได้ดังนี้
หลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด (Marketable Securities) คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยนำไปขายในตลาดได้ทันทีและแปรเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามราคาที่อยู่ในตลาดหุ้นขณะนั้นๆ เช่น หุ้น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ในรับฝากธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.  หลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดประเภทหุ้น (Marketable equity securities) ซึ่งหมายถึงหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของทุนของกิจการ เช่น การถือครองหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
2.  หลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดประเภทหนี้ (Marketable debt securities) ซึ่งหมายถึงหลักทรัพย์ที่แสดงสภาพความเป็นเจ้าหนี้ เช่น  หุ้นกู้บริษัท หรือพันธบัตรรัฐบาล
ความสำคัญของหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดต่อกิจการ
นอกจากเงินสดแล้ว หลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญมากของกิจการ เพราะนอกจากเป็นตัวช่วยสร้างสภาพคล่องที่ดีให้กิจการแล้ว ยังมีความสำคัญในการถือครอง 3 ประการด้วยกันคือ
·  เพื่อให้กิจกรรมการดำเนินงานของกิจการดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์ในความต้องการของตลาดมีไว้เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมประจำวันของกิจการ เช่น เป็นต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำค่าไฟในการผลิต โดยสามารถนำมาแปรเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันท่วงทีในกรณีกระแสเงินสดของกิจการไม่เพียงพอ เพื่อป้องกันกิจกรรมการผลิตหยุดชะงักจนเกิดผลเสียตามมา เช่น ผลิตสินค้าไม่ทัน หรือส่งสินค้าล่าช้าจนถูกปรับ เป็นต้น
·  เพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมในกรณีฉุกเฉิน หากเกิดกรณีฉุกเฉินในกิจการเช่น ไฟไหม้เครื่องจักรเสียหาย เงินสดในกิจการอาจไม่เพียงพอหรือการกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่อาจใช้เวลานาน ดังนั้นหากกิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด เช่น หุ้นหรือพันธบัตร ก็จะสามารถแปรเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สามารถแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
·  เพื่อใช้ในการลงทุน หากกิจการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นความต้องการของตลาด ไม่เพียงแต่เสริมสร้างสภาพคล่องของกิจการให้เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้แก่กิจการในอนาคตได้ เช่น การลงทุนซื้อหุ้นในกิจการที่คาดว่าจะมีผลประกอบการที่ดีจนราคาหุ้นสูงขึ้นในอนาคต
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแม้การถือครองเงินสดจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของกิจการ แต่การมีเงินสดมากเกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะเงินสดไม่ก่อให้เกิดรายได้ และผลตอบแทนต่อกิจการ ดังนั้นหากนำเงินสดไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นความต้องการของตลาดไม่เพียงแต่เสริมภาพลักษณ์ที่ดีในส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ ยังเป็นการสร้างโอกาสในการลงทุนและได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็สามารถขายหลักทรัพย์แปรเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ทันทีที่กิจการมีสภาพเงินสดขาดมือ ดังนั้นการจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหาร / เจ้าของกิจการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด คือ
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด คือ